การจัดการมรดก
เมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย ทรัพย์สิน ต่างๆจึงตกแก่ทายาท แต่ทายาทไม่สามารถจัดการทรัพย์สินดังกล่าวได้ จึงต้องมีคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อศาลไต่สวนและมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกสามารถนำคำสั่งศาลดังกล่าวไปจัดการทรัพย์สินต่างๆที่เป็นมรดกได้
คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
1.บรรลุนิติภาวะ
2.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
3.ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
4.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ผู้มีสิทธิยื่นขอตั้งผู้จัดการมรดก
1.ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรม
2.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.พนักงานอัยการ
เอกสารที่ใช้ในการจัดการมรดก
1. 1.สำเนาใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองการตายของผู้ตายและทายาททุกคนที่เสียชีวิตแล้ว
2. 2.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายที่เจ้าหนาที่ประทับว่า "ตาย" แล้ว
3. 3.สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและทายาททุกคนที่มีชีวิตอยู่
4. 4.ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า ของสามีภรรยาของผู้ตาย
5. 5.ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล กรณีเอกสารไม่ตรงกัน
6. 6.สูติบัตรของบุตรกรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ
7. 7.พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
8. 8.หนังสือให้ความยินยอมของทายาทที่เซ็นยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่
9. 9.บัญชีเครือญาติที่ถูกต้องตามความจริง
10. 10.เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ต้องจัดการ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส. 3, สมุดเงินฝาก, ทะเบียนรถ ฯลฯ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจัดการมรดก
ทายาทโดยพินัยกรรม
เป็นกรณี ที่ผู้ตาย ทำพินัยกรรม โดยระบุผู้รับมรดกและอาจระบุบุคคลใดให้เป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทโดยธรรม
เป็นกรณี ที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้ แต่ไม่มีผลบังคับได้ ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ ทายาทในลำดับต้นมีสิทธิได้รับมรดกก่อนทายาทที่อยู่ลำดับหลัง
1. -ผู้สืบสันดาร(บุตร)
2. -บิดามารดา
3. -พี่น้องร่วมบิดามราดาเดียวกัน
4. -พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. -ปู่ ย่า ตา ยาย
6. -ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรส เป็นทายาทโดยตรง
มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตรและถ้าไม่มีทายาททั้ง 6 ลำดับแล้ว จะมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
ศาลที่ยื่นคำร้อง
ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลขณะถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล